วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีปัญญานิยม

ทฤษฎีปัญญานิยม
    1. Chomsky  เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์เกิดขึ้นจากจิตใจ  ความคิด  อารมณ์  และความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป

ความคิด

อารมณ์


   2. การเรียนรู้เป็นการเชื่อมโยง  ข้อมูลข่าวสารเดิมกับข้อมูลข่าวสารใหม่เข้าด้วยกัน


   3. ทฤษฎีกลุ่มนี้ศึกษาองค์ประกอบในการจำที่ส่งผลต่อความจำระยะสั้น ระยะยาว และความคงทนในการจำ
   4. Piaget  เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับโครงสร้างสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อนและจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับ  เมื่อได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในทฤษฎีของเพียเจต์ได้ให้ความสำคัญไว้อยู่ 4 ขั้น ดังนี้
       ขั้นที่1...Sensorimotor (แรกเกิด - ขวบ)  เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆขอร่างกาย                          
       ขั้นที่2...Preoperational  (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เป็นวัยก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้  เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)   ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้  หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆ
       ขั้นที่3...Concrete  Operations (อายุ 7 - 11 ปี) พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้แตกต่างกันกับเด็กในขั้น  Preperational มาก   เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ในการ  แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
       ขั้นที่4...Formal Operations  (อายุ 12 ปีขึ้นไป)  ในขั้นนี้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอดคือ  เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไป  กว่าสิ่งปัจจุบันสนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับ ทุกสิ่งทุกอย่าง  และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม


   5. Bruner  เสนอวิธีการเรียนรู้โดยการค้นพบ  การเรียนการสอนเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคยก่อนและแทรกปัญหาให้ช่วยกันคิดหาคำตอบ
        5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
         5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพ แทนของจริงได้
         5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

   6. Ausubel  ให้ความสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของมนุษย์  แบ่งการรับรู้เป็น 4 ประเภท คือ
      6.1 การเรียนรู้โดยการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
      6.2 การเรียนรู้โดยการท่องจำ
      6.3 การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย
      6.4 การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำ
   Ausubel ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  เรียกหลักการจัดวางโครงสร้างเนื้อหา  ทฤษฎีนี้นำไปใช้ในการจัดโครงสร้างเนื้อหาเป็นหมวดหมู่  และให้เห็นความสัมพันธ์ในรูปแบบที่กว้างก่อนที่จะขยายให้เห็นความคิดรวบยอดในส่วนย่อย